Reduce | Reuse | Recycle Lifestyle เผย 5 โรคอันตราย กลุ่มเสี่ยงสูงหากอาการกำเริบขณะขับขี่

เผย 5 โรคอันตราย กลุ่มเสี่ยงสูงหากอาการกำเริบขณะขับขี่

ซื้อประกันภัย รถ

โรคประจำตัว คือ อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่เป็นที่มาของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และนำพามาซึ่งความเสียหายและสูญเสียที่ทำให้ต้องซื้อประกันภัย รถไว้เพื่อคุ้มครอง โดยกรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบข้อบังคับสำหรับการขอใบอนุญาตขับขี่ เกี่ยวกับ 5 โรคอันตรายที่กรมไม่อนุญาตให้สามารถขับขี่บนท้องถนนได้ อันได้แก่ โรคเท้าช้าง โรควัณโรค โรคเรื้อน โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคติดยาเสพติดให้โทษ แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพทวีความรุนแรงมากขึ้น โรคประจำตัวที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้น มีมากกว่า 5 โรคที่ได้กล่าวมา ซึ่งจะมีโรคใดบ้างนั้นไปติดตามกันเลย

1. โรคทางดวงตาและสายตา

จริง ๆ แล้ว โรคอันตรายทางดวงตาและสายตา ไม่ได้เกิดขึ้นโดยฉับพลัน แต่เป็นปัญหาเรื้อรังที่หากไม่รักษาจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อทัศนวิสัยการมองเห็นขณะขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นต้อกระจก ต้อหิน รวมถึงจอประสาทตาเสื่อม แต่ทั้งนี้โรคเหล่านี้หากถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้าระหว่างการขับขี่ อาทิ แสงแดด แสงไฟ ก็อาจทำให้อาการทรุดลงกะทันหัน จนเกิดอาการตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน หรือมองเห็นได้ไม่ชัดเจนอย่างเคย ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย

2. โรคลมชัก

เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความอันตรายสูง หากอาการเกิดกำเริบขณะขับขี่ โดยผู้ป่วยลมชักจะมีหลายอาการที่ส่งผลต่อการขับขี่ อาทิ อาการชักจนหมดสติ ร่างกายเสียการควบคุม จนไม่สามารถควบคุมการขับขี่ได้ ทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว ถึงแม้ว่าในอนาคตโรคลมชักอาจถูกกำหนดเป็นโรคอันตรายที่ไม่อนุญาตให้ขับขี่ แต่ก็ใช่ว่าจะควบคุมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะยังมีผู้คนอีกมากที่ไม่รู้ว่าอาการลมชักจะเกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไหร่ หรือบางคนอาจรู้ แต่ไม่ได้มีการพบแพทย์ หรือปฏิเสธการเกิดโรค เพียงเพราะอยากได้ใบอนุญาตขับขี่มาครอบครอง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การควบคุมดูแลเป็นไปได้ยากพอสมควร

3. โรคหัวใจ

อีกหนึ่งโรคอันตรายที่อาการสามารถกำเริบได้ตลอดเวลา อย่างไม่มีสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าเสียด้วย โดยอาการของโรคหัวใจที่ส่งผลต่อความสามารถในการขับขี่นั้น คือ อาการหน้ามืด คล้ายจะเป็นลม ความสามารถในการมองเห็นน้อยลง ภาพที่เห็นเบลอและไม่ชัดเจนอย่างเคย จนรุนแรงถึงขั้นหมดสติไปในฉับพลัน ผู้ที่มีอาการของโรคหัวใจจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องซื้อประกันภัย รถติดไว้ สำหรับคุ้มครองคุณหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน

4. โรคเบาหวาน

สำหรับโรคเบาหวานนั้น จะมีผลต่อการขับขี่ในกรณีที่ความรุนแรงของโรคอยู่ในระยะวิกฤต ชนิดที่ต้องคอยฉีดอินซูลีนหล่อเลี้ยงร่างกาย เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยผู้ป่วยจะมีอาการหน้ามืด ใจสั่น ตาเริ่มพร่ามัว ชาตามมือและเท้า เสียสมาธิในการขับขี่ จนถึงขั้นหมดสติลงในที่สุด ซึ่งจากความรุนแรงของอาการที่กล่าวมา นอกจากจะลดทอนความสามารถในการขับขี่และควบคุมรถแล้ว ยังลดความสามารถในการบังคับพวงมาลัย จากอาการชาที่แทรกซ้อนขึ้นมาอีกด้วย

5. โรคหลอดเลือดในสมอง

โรคที่เกิดจากภาวะสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง จากสาเหตุหลอดเลือดอุดตัน ตีบตัน และแตก ทำให้สมองจะหยุดทำงานโดยฉับพลัน ระบบควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายล้มเหลว ผู้ป่วยจะหมดแรงในการทำกิจกรรม แขนขาไม่มีแรง หากขับรถอยู่จะสูญเสียการควบคุมทั้งมือและเท้า หรือบางรายอาจมีอาการมือเท้ากระตุกแทรกเข้ามาอยู่เป็นระยะ อาการเหล่านี้มีผลต่อการขับขี่โดยตรง และหากเกิดในขณะที่ขับรถด้วยความเร็วโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุย่อมเป็นไปได้สูง

ทางที่ดีหากคุณเป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคอันตรายทั้ง 5 นี้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่รถด้วยตนเอง หรือหากจำเป็นควรมีผู้ติดตาม หรือเพื่อนร่วมเดินทางไปด้วย ทั้งนี้ต้องไม่ลืมที่จะซื้อประกันภัย รถติดไว้เสมอ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองในการขับขี่ รวมถึงหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้นกว่าเดิม หมั่นเข้ารับการตรวจร่างกายเพื่ออัปเดตอาการอยู่เป็นประจำ การดูแลตัวเองเช่นนี้ ถือเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อีกทาง

Related Post

ผ้ารองกันน้ำ

เรื่องน่ารู้ของคนรักผ้าผ้ารองกันน้ำแบ่งออกเป็นรูปแบบใดบ้างเรื่องน่ารู้ของคนรักผ้าผ้ารองกันน้ำแบ่งออกเป็นรูปแบบใดบ้าง

สำหรับการออกแบบผ้ารองกันน้ำนี้ แน่นอนว่าหัวใจหลักของการนำไปใช้งานก็คือนำไปใช้กันน้ำตามที่ผู้ใช้งานต้องการและในขณะเดียวกันก็ยังต้องมีลวดลายดีไซน์ที่สวยงามอีกด้วย สำหรับการแบ่งประเภทของผ้ากันน้ำประเภทนี้ก็แตกต่างกันออกไปเช่น เสื้อกันฝน, ผ้าคลุมเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง, ม่านอาบน้ำ, ผ้าปูโต๊ะ, ผ้าปิกนิกและอื่น ๆ ซึ่งนำวัสดุที่นำมาสร้างเป็นผ้ากันน้ำในรูปแบบต่าง ๆ มีหลายรูปแบบซึ่งเราจะมาแนะนำให้คนรักผ้าได้ทราบกัน และจะได้นำไปใช้ให้ถูกวิธีอีกด้วย   1. PUL  PUL ย่อมาจาก Polyurethane Laminate โดยเป็นผ้าโพลีเอสเตอร์ที่มีการเคลือบด้วยสารเคลือบกันน้ำ โดยสิ่งที่ดีที่สุดเกี่ยวกับผ้า PUL ก็คือสามารถกันน้ำได้อย่างสมบูรณ์แบบ, ทนทานมาก, ระบายอากาศได้, มีความยืดหยุ่น และใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย ผ้า PUL มีให้คุณเลือกทั้งความหนา 1 มิลลิเมตร และเคลือบพลาสติก 2 มิลลิเมตร   2.ไวนิล เพลท และพลาสติก   วัสดุเทียมเหล่านี้สามารถกันน้ำได้ดี และมักใช้ในการเย็บทำกระเป๋าเครื่องสำอาง, ที่รองจาน และผ้ารองกันน้ำ ซึ่งสามารถใช้คลุมปูบนโต๊ะอาหารได้อย่างสวยงาม มีลวดลายให้เลือกมากมาย ช่วยถนอมเฟอร์นิเจอร์ของคุณได้อย่างดีเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด อีกทั้งยังมีราคาย่อมเยา หาซื้อง่าย   3. ผ้าน้ำมัน  ผ้าน้ำมันหรือที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าผ้าเคลือบ หรือผ้าอเมริกัน มีลักษณะเป็นผ้าลินินที่ทอแน่นด้วยน้ำมันพิเศษเฉพาะเพื่อทำให้กันน้ำได้ ปัจจุบันผ้าน้ำมันที่มีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัยมักนำผ้าฝ้ายหรือลินินเคลือบด้วยชั้นไวนิลใสที่ด้านบน จนกระทั่งทำให้เกิดเงาขึ้นมา วัสดุชนิดนี้ที่ทนทานต่อการสึกหรอ, ทนทาน

ประกันชั้น 1

ประกันชั้น 1 คุ้มครอง VS ไม่คุ้มครองอะไรบ้าง ?ประกันชั้น 1 คุ้มครอง VS ไม่คุ้มครองอะไรบ้าง ?

อย่างที่ทราบกันดีว่า ประกันชั้น 1 เป็นประกันที่มีราคาสูงมาก แต่ก็ครอบคลุมความคุ้มครองแบบจัดเต็มมากเช่นกัน ฉะนั้น หลายๆ คนจึงยอมจ่ายแพงเพื่อให้ได้ความคุ้มครองนั้น แต่คุณหารู้ไม่ว่าในบางกรณีประกันชั้น 1 ก็ไม่ขอคุ้มครองนะ ซึ่งบทความนี้ เราจึงได้รวบรวมทั้งสิ่งที่ประกันชั้น 1 คุ้มครองและสิ่งที่ประกันชั้น 1 ไม่คุ้มครองมาฝาก ว่าแล้วก็ไปดูกันเลย  ประกันชั้น 1 คุ้มครองอะไรบ้าง ?  หลายๆ ท่าน มักมีคำถามว่า ประกันชั้น 1 คุ้มครองอะไรบ้าง ซึ่งเราขอตอบพร้อมๆ กันตรงนี้ให้คลายข้อสงสัยเลยว่า สิ่งที่ประกันชั้น 1 คุ้มครอง มีดังนี้  ประกันชั้น 1 คุ้มครองกรณีรถชนกัน คือ ให้ความคุ้มครองทั้งรถยนต์ที่เอาประกันและรถยนต์ของคู่กรณี  ประกันชั้น 1 คุ้มครองกรณีรถชนสิ่งอื่นๆ คือ หากขับรถไปครูดฟุตบาท ชนเสาไฟฟ้า หรือเฉี่ยวกำแพงบ้านใครก็ตาม ประกันภัยชั้น 1 เท่านั้นที่ให้ความคุ้มครอง แม้ไม่มีคู่กรณี  ประกันชั้น 1 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก คือ แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น โดยรับผิดชอบทรัพย์สินที่เกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ ตามทุนประกัน เช่น รถยนต์ของคู่กรณี รั้วบ้าน เสาบ้าน หรือสิ่งของที่เสียหาย เป็นต้น  ประกันชั้น 1 คุ้มครองรถยนต์สูญหาย คือ รับผิดชอบในกรณีรถยนต์สูญหาย หรือถูกโจรกรรม

ออกแบบภายใน ราคาถูก

ความหมายของการออกแบบภายใน และสาขาวิชาการออกแบบภายในความหมายของการออกแบบภายใน และสาขาวิชาการออกแบบภายใน

การออกแบบภายใน สำหรับนักออกแบบก็คงเข้าใจความหมายของคำคำนี้เป็นอย่างดี การออกแบบภายใน คือ งานออกแบบ พื้นที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในอาคาร เน้นการออกแบบที่ละเอียด ความสวยงามและพื้นที่การใช้สอยที่อำนวยความสะดวกสบาย ในอดีตงานในส่วนนี้คือหน้าที่ของสถาปนิก สมัยก่อนอาชีพสถาปนิกต้องทำทุกอย่างหรือรับผิดชอบทุกอย่างเกี่ยวกับการออกแบบอาคารและควบคุมงานก่อสร้าง ทั้งตัวอาคารและภายในอาคาร ไปจนถึงการออกแบบโครงสร้างและพื้นที่บริเวณโดยรวมด้วย ย้อนกลับไปในยุคโรมัน ยุคกลางที่เริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ มีการคำนวณการรับแสงของอาคารด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์และวิชาฟิสิกส์ รวมไปถึงนงานวิศวกรรม จึงเกิดการแยกอาชีพระหว่างสถาปนิกและวิศวกรรมออกจากกัน เมื่อเวลาผ่านไปเข้าสู่ยุคใหม่มากขึ้น งานออกแบบภายในเริ่มมีสายอาชีพเฉพาะทางที่ชัดเจนมากขึ้น จึงเกิดเป็นสาขาวิชา มัณฑนศิลป์ ภาษาอังกฤษคือ Decorative Art เน้นการเรียนการสอนไปที่งานศิลปะที่นำมาประยุกต์ใช้ในการตกแต่ง สาขาออกแบบภายใน หรือ Interior แบ่งออกเป็น